เทคโนโลยีการศึกษากับสื่อการสอน
- เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีการศึกษา ส่วนมากเรา
มักจะนึกถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ราคาแพง เช่น
คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ แต่ที่จริงแล้วเทคโนโลยี
การศึกษาตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี
(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทาง
การศึกษา ซึ่งเน้นระบบการนำวิธีการมาปรับปรุง
ประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น
มโนทัศน์(Concept) เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา
1.เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
(Physical Science) หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์
กายภาพ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) กับเทคโนโลยีทางการช่าง
หรือวิศวกรรม เช่น เครื่องฉายต่าง ๆ เครื่องบันทึกเสียง
วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน
สำหรับการเรียนเป็นกลุ่มหลักการและทฤษฎีที่มีผลต่อเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะ
นี้คือ เรื่องของโสตทัศนะ (Audiovisual) และเครื่องมือ
ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ ฟิล์มสตริป สไลด์ เป็นต้น ใน
ลักษณะของสื่อที่ไม่ใช่ตัวหนังสือ (Non-verbal roles)
2.เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์
(Behavioral Science Concept) เป็นการปฏิบัติการทาง
การศึกษาที่มีอิสระภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการ
ปรับปรุง โดยนักพฤติกรรมศาสตร์สาขาจิตวิทยา
มานุษยวิทยา สังคมวิทยา และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
สาขาวิชา เช่น จิตวิทยาการเรียนรู้ กระบวนการกลุ่ม
ภาษาศาสตร์ การสื่อสาร การบริหาร ระบบ ชีวภาพ การ
รับรู้และการวัดทางจิต
ความแตกต่างในความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์
- ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาทั้ง 2 ทัศนะ ที่ได้
กล่าวแล้ว จะเน้นความสำคัญที่แตกต่างกันอย่างเห็น
ได้ชัด กล่าวคือ เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะความคิด
ทางวิทยาศาสตร์กายภาพนั้น เน้นความสำคัญของ
เครื่องมือ (hardware) เช่น เครื่องฉายต่าง ๆ เทป
บันทึกเสียง เป็นต้น และสื่อในการติดต่อสื่อสารเพื่อ
แก้ปัญหา Verbalism เป็นสำคัญโดยไม่ค่อยจะคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
- ส่วนทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์นั้นพิจารณา
เทคโนโลยีในเชิงปฏิบัติให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของ
มนุษย์โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นแกนกลาง
สำคัญ แนวความคิดนี้พยายามทำความเข้าใจและ
ศึกษาว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร และนำ ความรู้
ตลอดจนวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือเข้าไป
ประยุกต์แก้ปัญหาหรือเสริมสร้างการเรียนการสอนให้
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- เ ท ค โ น โ ล ยีก า ร ศึก ษ า ส มัย ใ ห ม่ จ ะ ผ ส ม ผ ส า น
แนวความคิดของนักเทคโนโลยีการศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมา
ใช้ คือ พยายามสร้างสื่อ เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ โดย
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็น
หลัก
งานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา
งานกราฟิก
งานถ่ายภาพ
งานด้านระบบเครื่องเสียง
ระบบเครื่องฉาย
งานด้านสื่อมวลชน
สิ่งพิมพ์
ภาพยนตร์
วิทยุกระจายเสียง
โทรทัศน์
งานด้านระบบโทรคมนาคม
งานด้านการศึกษาทางไกล
ด้านการศึกษารายบุคคล